เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีธนบุรี ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด (SRTA) ว่า ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นการเริ่มนับหนึ่งในการบริหารเรื่องการพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และพื้นที่นี้จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่ดินอื่น ๆ ของ รฟท. และรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ต่อไป โดยความร่วมมือครั้งนี้จะศึกษาพื้นที่รอบสถานีธนบุรีทั้งหมด ประมาณ 148 ไร่ ใช้เวลาศึกษาประมาณ 6 เดือน ใช้งบประมาณในการดำเนินการศึกษา ประมาณ 10 ล้านบาท
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า การศึกษาครั้งนี้จะมีคณะทำงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานการจัดทำแผนแม่บทโครงการฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทสำเร็จลุล่วงเกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างสูงสุด โดยมีแนวทางการพัฒนา เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ และเมืองสีเขียว 4 ด้าน ได้แก่ 1.Connectivity Linkage สนับสนุนโครงข่ายถนน และทางเดินที่เชื่อมต่อในพื้นที่รอบโครงการ กับสถานีรถไฟฟ้า และระบบขนส่งสาธารณะ อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2.Green Environment สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ด้วยการใช้แนวความคิดพลังงานสะอาด สร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.Medical Complex สนับสนุนแนวคิดการพัฒนาทางการแพทย์อย่างครบวงจร และศูนย์การเรียนรู้เพิ่มเติม สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช และ 4.Intregrated Mixed Use Development สนับสนุนการพัฒนาสำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยเป็นสำคัญ ตอบโจทย์การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางสู่โรงพยาบาลศิริราชอย่างรวดเร็ว ประชาชนมีทางเลือกหลากหลายในการเดินทาง และทำให้พื้นที่โดยรอบสถานีเอื้ออำนวยต่อการใช้ชีวิตในทุกด้านคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า เบื้องต้นการพัฒนาพื้นที่สถานีธนบุรี คาดว่าต้องดำเนินการแบ่งเป็นระยะ (เฟส) โดยเฟสแรก จะพัฒนาพื้นที่ประมาณ 14 ไร่ก่อน คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคา (ประมูล) ได้ประมาณปลายปี 66 และควรเป็นการประมูลเป็นสัญญาเดียว ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี แล้วเสร็จและเปิดบริการในปี 69 ให้เอกชนเช่าเป็นเวลา 30 ปี อย่างไรก็ตาม ได้เน้นย้ำว่าในการจะดำเนินโครงการนั้น ต้องยึดหลักธรรมาภิบาล และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่บริเวณสถานีธนบุรีได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ด้าน น.ส.ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสอาร์ทีเอฯ กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ 14 ไร่ เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยของพนักงาน รฟท. ในปัจจุบัน ซึ่งมีประมาณ 300 ครัวเรือน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหาพื้นที่เพื่อให้พนักงาน รฟท. ย้ายไปอยู่ชั่วคราวในระหว่างก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ 14 ไร่ อยู่บริเวณริมถนนรถไฟ ตรงข้ามตลาดศาลาน้ำร้อน ติดกับหอพักนักศึกษาแพทย์ โดยจะพัฒนาเป็นโครงการที่รวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับการอยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ทั้งอาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ หรือมิกซ์ยูส ซึ่งภายใต้สัญญาจะกำหนดให้เอกชนต้องสร้างคอนโดฯ ที่พัก ให้กับพนักงาน รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เพื่อทดแทนบ้านพักเดิมบนพื้นที่ 2 ไร่ด้วย
น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รฟท. ยังอยู่ระหว่างศึกษาพัฒนาพัฒนาพื้นที่ที่ดินแปลง A และ E บริเวณสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนี้พร้อมกับพื้นที่สถานีธนบุรี นอกจากนี้ยังกำลังศึกษาพื้นที่บริเวณ RCA และพื้นที่มักกะสัน โดยคาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 66
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับพื้นที่ 14 ไร่ มีมูลค่าที่ดินประมาณ 1,770 ล้านบาท โดยให้เอกชนเช่า 30 ปี รฟท. จะได้ผลตอบแทนรวม 3,584 ล้านบาท.