จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งชื่อ Katry Somsaman โพสต์ภาพกลุ่มแม่บ้านและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ที่ช่วยกันรุมจับนกปริศนาออกจากระเบียงห้อง เมื่อจับได้กลับพบว่านกตัวนี้มีหน้าตาประหลาด ไม่เหมือนนกที่พบได้ทั่วไป ลักษณะคล้าย"เจ้าเขี้ยวกุด" ตัวละครจากภาพยนตร์อนิเมชันเรื่อง How to Train Your Dragonจากนั้นทางนิติบุคคลของคอนโดมิเนียมแจ้งกับทางกรมพิทักษ์สัตว์ป่าให้มานำตัวไป และทราบในภายหลังว่านกชนิดนี้คือ “นกตบยุงยักษ์”
"หลวงพี่โจ" ไล่ลบคลิปรีวิวเที่ยวญี่ปุ่นแบบฉ่ำๆ หลังสำนักพุทธฯ จี้สอบ!
หยุดปีใหม่วันแรก! กทม.ถนนโล่ง หลายเส้นทางมุ่งหน้า ตจว. รถยังหนาแน่น
สั่ง พศ. ตรวจสอบด่วน “หลวงพี่โจ” โพสต์คลิปเที่ยวญี่ปุ่นว่อนโซเชียล
นกตบยุงยักษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eurostopodus macrotis เป็นนกที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง จะงอยปากแบนกว้าง ไม่มีขนแข็งที่มุมปาก มีขนหูยาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันคล้ายกัน ปีกและหางยาวกว่านกตบยุงชนิดอื่น ๆ ในวงศ์ หัวสีน้ำตาลเหลือง กลางหัวสีดำ ท้ายทอยมีขนเป็นกระจุกคล้ายหู หน้า คอ และอกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ
บริเวณกลางคอ มีแถบสีขาวต่อด้วยสีน้ำตาลเหลืองรอบคอ มีแถบสีน้ำตาลอ่อนที่ขนคลุมไหล่ ลำตัวด้านล่างมีลายขวางสีคล้ำ มีจุดเด่นอยู่ที่เสียงร้อง “ปิด ปี้ว” คล้ายเสียงผิวปาก
ด้านพฤติกรรม เป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน แต่มักออกบินบ่อยมากในช่วงพลบค่ำและย่ำรุ่ง อาหารของนกตบยุงยักษ์จะเป็นแมลงชนิดต่าง ๆ หากินโดยการบินโฉบจับด้วยจะงอยปากกลางอากาศ เป็นนกที่ไม่ทำรัง แต่จะวางไข่บนพื้นดิน ครอกละ 1-2 ฟอง เปลือกไข่สีขาวหรือสีน้ำตาล ลูกนกจะอยู่ในไข่จนโตพอสมควร ก่อนออกจากไข่
เมื่อยังแบเบาะ จะมีขนดาวน์หรือขนอุยขึ้นปกคลุมลำตัว ลืมตาได้ หลังฟักออกจากไข่ พ่อแม่จะพาลูกนกเดินไปยังสถานที่ ๆ ปลอดภัย แต่ลูกนกยังคงต้องให้พ่อแม่หาอาหารมาป้อนให้
นกตบยุงยักษ์ ชอบจะอาศัยบริเวณที่เป็นป่าโปร่ง ชายป่า พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่เปิดโล่งต่าง ๆ รวมถึงที่ราบความสูง 2,135 เมตร มักพบอยู่ตามเส้นทางลำคลองในป่า ทั้งป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ส่วนถิ่นแพร่กระจาย จะสามารถพบในปากีสถาน อินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และออสเตรเลียตอนเหนือ
โดยนกตบยุงยักษ์ เป็นหนึ่งในนกสกุลนกตบยุงที่มีเพียง 6 ชนิดในประเทศไทยเท่านั้น ได้แก่ นกตบยุงพันธุ์มลายู นกตบยุงยักษ์ นกตบยุงภูเขา นกตบยุงหางยาว นกตบยุงเล็ก และนกตบยุงป่าโคก
ในทางกฎหมาย นกตบยุงยักษ์ ถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในลำดับที่ 466 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่บัญญัติไว้ว่า ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกอีกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฉะนั้น นกตบยุงยักษ์ ไม่สามารถเลี้ยงได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ
และล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายเดิม ระบุว่า นกตบยุงยักษ์ตัวดังกล่าว ถูกส่งไปยังทีมแพทย์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นที่เรียบร้อย โดยเฟซบุ๊กเพจ ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชระบุว่า สัตวแพทย์หญิงธชพรรณ ลีลาพตะสัตวแพทย์ประจำคลินิกสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตรวจสภาพแล้ว พบว่านกตัวดังกล่าวไม่ได้ป่วย แต่น่าจะอ่อนเพลียจากการเผชิญสภาพแวดล้อมท่ามกลางตึกสูงใน กรุงเทพฯ นกตัวดังกล่าวได้สารอาหารที่สัตวแพทย์ป้อนให้ได้ คาดว่าจะแข็งแรงพอที่จะกลับคืนสู่ธรรมชาติในอีกไม่นาน
เรียบเรียงจาก Wikipedia (1) (2)/ LowerNorthernBird / พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535/ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ด่วน! “เจนนี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” พร้อมลูกสาว ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ แฟนๆ แห่ห่วง-ส่งกำลังใจ คำพูดจาก เว็บตรงสล็อต
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า บอกลาอากาศเย็น! หลังจากนี้ร้อนขึ้น
29 ธ.ค. 66 ธนาคารหยุด! หลังแบงก์ชาติประกาศให้เลื่อนวันหยุดชดเชยสิ้นปี